นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น 1.ด้านการเมืองการบริหาร 1.1 ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่รวมทั้งบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน ให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการตามลำดับความสำคัญ และความเร่งด่วนของปัญหาส่งเสริมให้ประชาชนจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชน มีอำนาจในกระบวนการบริหารจัดการพัฒนาโดยพึ่งตนเอง 1.2 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นในการกำหนดตรวจสอบนโยบายแผนงาน โครงการพัฒนา เพื่อให้สนองตอบความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 1.3 จัดระบบการบริหารอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน
2.ด้านสังคม 2.1 พัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้พิการและผู้ที่ด้อยโอกาสให้มีสุขภาวะทั้งกายและใจ 2.2 ดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม แก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง 2.3 ส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ 2.4 ส่งเสริมบทบาทของเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
3.ด้านการศึกษา 3.1 พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพและคุณภาพการศึกษาให้แก่ประชาชน ในทุกระดับ รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตำบลในระดับในหลายรูปแบบ การกีฬา 3.2 เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาและดูแลระบบการศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตำบล 3.3 สนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมนักเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างทั่วถึง และเป็นธรรมในทุกๆด้านที่ชอบด้วยกฎหมาย
4.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4.1 การดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ การประปา ประสานงานไฟฟ้า ทางเท้าและระบบการจราจรที่สะดวกและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5.ด้านวัฒนธรรม 5.1 ส่งเสริม ฟื้นฟู และพัฒนาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ต่อวิถีชีวิต อันการเชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตอย่างประหยัด นำไปสู่เศรษฐกิจแบบยั่งยืนสอดคล้อง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 5.2 ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
|
|